รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

โดย : Admin 05 มี.ค. 2568

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่ม
ในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ


วันที่ 5 มีนาคม 2568 เวลา 08.30 – 12.00 น. นางสาววนิดา พันธ์สอาด รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และนายโอคุดะ เท็ตสึยะ ประธานสถาบันวิจัยด้านการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น สำนักงานภูมิภาคอาเซียน – อินเดีย (JTTRI-AIRO) ได้เป็นประธาน
ร่วมการประชุมคณะทำงานวิชาการด้านการท่องเที่ยว ไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ภายใต้หัวข้อ "Toward High - Value Tourism Destinations and Industry by Utilizing National and Local Identities” ณ ห้องฟูจิ 2 ชั้น 4 โรงแรมนิกโก กรุงเทพมหานคร และผ่านระบบการประชุมทางไกล


การประชุมฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายด้านการท่องเที่ยว พร้อมแลกเปลี่ยนมุมมอง
เกี่ยวกับแนวทางการสร้างมูลค่าอัตลักษณ์การท่องเที่ยวชุมชนระหว่างไทยและญี่ปุ่น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญ
ด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศเข้าร่วมนำเสนอข้อมูล ดังนี้


1. การบรรยายแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของโรค ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงอนาคต
ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก และความเป็นไปได้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มใหแก่การท่องเที่ยว: บทบาทของชุมชนท้องถิ่นในการริเริ่มทำให้แหล่งทองเที่ยวมีความน่าสนใจมากขึ้น โดยนายอภิภัทร เปรื่องการ ผู้อำนวยการ
ด้านการสื่อสารของสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟก (PATA)


2. การสรุปผลการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ อัตลักษณ์ประเทศและท้องถิ่น: เครื่องมือดึงดูดนักท่องเที่ยวสู่จุดหมาย
ปลายทาง (National and Local identity: Key Driver to attract tourists to destination) โดยนายโทมิตะ อะกิฮิโระ กรรมการบริหารสถาบันวิจัย JTTRI – AIRO เลขานุการคณะทำงาน (ฝ่ายญี่ปุ่น) ได้นำเสนอบทบาทขององค์กรจัดการแหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Organizations: DMOs) ในการบูรณาการด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน ผ่านการใช้กลยุทธ์ 3Ms ได้แก่ การทำการตลาด
(M-Marketing) การบริหารจัดการ (M–Management) และการสร้างรายได้ (M-Monetize) สำหรับการดึงดูดนักท่องเที่ยวในภูมิภาค
และนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยซึ่งมุ่งเน้นการใช้การตลาดและการจัดการในการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ได้แก่
การใช้กลยุทธ์ Soft Power และแนวคิด 5Fs Concept (Food Film Fashion Fight และ Festival)


3. การสรุปผลการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ การพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน: การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของการ
ท่องเที่ยวของไทยและญี่ปุ่น (Tourism Development Initiated by Community -Best Practices Exchange in Community-Based Tourism between Thailand and Japan) โดยโดยนางเกษราภรณ์ วิมลรัตน์ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ เลขานุการคณะทำงานฯ (ฝายไทย) ได้นำเสนอความสำเร็จของกิจกรรมการลงพื้นที่ชุมชนตะเคียนเตี้ย ซึ่งเป็นชุมชนที่นำเอกลักษณ์และทรัพยากรในท้องถิ่นมาสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมเพื่อต่อยอดและเพิ่มมูลค่าให้แก่การท่องเที่ยว ด้วยการนำเสนอในรูปแบบของการสร้างประสบการณ์ด้านอาหาร สินค้า
ท้องถิ่น และบริการอันเป็นเอกลักษณ์ เน้นการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ความรู้ในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
และสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ชุมชนได้อย่างยั่งยืน


นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อนความร่วมมือร่วมกัน อาทิ
การท่องเที่ยวเรือสำราญ การท่องเที่ยวน้ำพุร้อน การท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ระบบส่งเสริมการท่องเที่ยว
ในประเทศไทย และการท่องเที่ยวไมซ์ (MICE) เพื่อใช้เป็นกรอบการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ความร่วมมือ
ด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป


รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ   รอง ปกก. วนิดาร่วมประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือวิชาการท่องเที่ยวไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 พร้อมผลักดันการสร้างมูลค่าเพิ่มในการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ