โดย : Admin 10 ก.ค. 2567
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 60 (ASEAN NTOs Meeting) ผ่านระบบการประชุมทางไกล
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 เวลา 09.30 - 15.00 น. นายมงคล วิมลรัตน์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวของไทย ได้เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 60 (ASEAN NTOs Meeting) ผ่านระบบการประชุมทางไกล
การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและติดตามสถานการณ์การดำเนินงานของประเทศสมาชิกอาเซียน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียนปี พ.ศ. 2559-2568 (ASEAN Tourism Strategic Plan: ATSP 2016-2025) สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Committee Meeting: ATCM) และการประชุม ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่
4 – 7 มีนาคม 2567 ณ เมืองกูชิง สหพันธรัฐมาเลเซีย รวมถึงความคืบหน้าการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (MRA on TP) กิจกรรมการตลาดท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Marketing Strategy: ATMS) และโครงการภายใต้กองทุน ASEAN NTOs Fund
ที่ผ่านมา ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีบทบาทหลักในการสนับสนุนการฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่เกี่ยวข้องกับ MRA on TP
ซึ่งคณะกรรมการ ATPMC ได้อนุมัติให้ประเทศไทยโดยกรมการท่องเที่ยวดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรผู้สอนต้นแบบอาเซียน
(Master Trainer: MT) และผู้ประเมินต้นแบบอาเซียน (Master Assessor: MA) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยกรมการท่องเที่ยวจะดำเนินการอบรมเพื่อเพิ่มจำนวนผู้สอนต้นแบบอาเซียน (MT) และผู้ประเมินต้นแบบอาเซียน (MA) ณ กรุงเทพมหานคร และจะจัดพิธีมอบใบรับรอง (Certificate) สำหรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ MRA on TP ในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 นอกจากนี้ ประเทศไทย โดย สสปน. จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมพิเศษ (นอกสถานที่) ของการประชุม MRA-TP เกี่ยวกับ Event Professionals Master Plan ในเดือนตุลาคม 2567
ทั้งนี้ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้สนับสนุนการจัดทำแผน ATSP 2025 ซึ่งมีฟิลิปปินส์เป็นผู้ประสานงานหลัก
โดยให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า แผน ATSP ควรมุ่งเน้นการส่งเสริมความยั่งยืนของภาคการท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบ
ด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ รวมถึงสนับสนุนให้ชาติอาเซียนมุ่งหน้าสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) นอกจากนี้ ในส่วนของการส่งเสริมความร่วมมือข้ามสาขาระหว่างท่องเที่ยวและขนส่ง ประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของการจัดจั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้านการท่องเที่ยวและการขนส่ง (ATFTT) ซึ่งจะมีส่วนสำคัญ
ในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลของไทยที่ต้องการเชื่อมโยงการเดินทางในภูมิภาคอาเซียน (Intra-regional Connectivity)
โดยเฉพาะการเพิ่มเที่ยวบิน การเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ และการใช้ระบบชำระเงินแบบ Cashless เพื่ออำนวยความสะดวก
ให้กับนักท่องเที่ยว