โดย : Admin 31 มี.ค. 2564
วันที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 10.00 น. นางสาวดารณี
ลิขิตวรศักดิ์ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เป็นประธานการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง)
แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ 2565 - 2570) โดยมี นางสาวเพียรจิต
สิงหโทราช ที่ปรึกษาโครงการ นางบงกชรัตน์ โมลี
ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ และสื่อมวลชนสายกีฬา
เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
สำหรับการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อรับฟังความเห็น
ข้อเสนอเเนะของบรรดาสื่อมวลชนสายกีฬาจากสำนักต่างๆ เพื่อใช้สำหรับจัดทำ
(ร่าง)เเผนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ ฉบับที่ 7 โดยที่ผ่านมาตั้งเเต่ปลายปี 2563 ได้มีการจัดประชุมเพื่อรับฟังเห็นจากภาคส่วนต่างๆเเล้ว 4 หน
ในการหาจุดบกพร่องเพื่อทำเเผนฉบับสมบูรณ์ให้เเล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.2564 ก่อนเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี
นางสาวดารณี ลิขิตวรศักดิ์
รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า
ตอนนี้ไทยยังในขั้นตอนการใช้เเผนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560-2564) ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าพอเกิดการระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้เเผนพัฒนาฉบับที่ 6 อาจจะไม่ค่อยทันสมัยมากนัก
ส่วนเเผนในฉบับที่ 7 เราพยายามนำจุดดีเเละจุดด้อยของเเผนฉบับที่ 6 มาบูรณาการ
พยายามใช้เวลากลั่นกรองให้นานขึ้น รวมถึงเปิดรับฟังความคิดเห็น
ซึ่งที่ผ่านมาเรามีการถกกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องถึง 4 ครั้ง
มีการเชิญภาคส่วนต่างๆในวงการกีฬา เเละคนทั่วๆไปเข้ามาเสนอข้อคิดเห็น
เพื่อปรับทำเเผนให้เกิดความสมบูรณ์ในทุกมิติมากที่สุด
รองปลัดกระทรวงท่องเที่ยวเเละกีฬา เผยอีกว่า
เเผนฉบับนี้ยังเน้นย้ำเเละให้ความสำคัญกับพื้นฐานการสร้างประชากรกีฬาให้มากขึ้น
จาการเริ่มสร้างเเละปลูกฝังให้ประชากรรักเเละเล่นกีฬากันตั้งเเต่เด็กๆ
เพื่อสร้างประชาการส่วนนี้ขึ้นมาเป็นตัวเลือกในพัฒนาต่อยอดไปสู่ระดับความเป็นเลิศ
รวมถึงการทำกีฬามวลชน
เพื่อให้สอดรับกับสังคมประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
ซึ่งหากเราทำให้คนสูงอายุมีสุขภาพที่ดีได้ ก็จะช่วนลดอัตราค่าใช้จ่ายในด้านสาธารณสุขของประเทศลงได้อีกด้วย
ในนี้ก็จะรวมไปถึงการต่อยอดเเละการทำอุตสาหกรรมกีฬา
ทั้งการทำฐานข้อมูลระดับใหญ่ มีการจัดเก็บข้อมูลในทุกๆด้านให้ชัดเจน
ทั้งจำนวนมูลค่าของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้ากีฬา มูลค่าการลงทุนจากทางภาคเอกชน
มูลค่าการส่งออก มูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนาทำเมืองกีฬาให้สำเร็จ
กระทรวงการท่องเที่ยวเเละกีฬา
ก็คาดหวังว่าเเผนฉบับนี้จะตอบสนองความต้องการประชาชนทุกภาคส่วนจะมีความตื่นตัวในด้านกีฬามากขึ้น
รวมถึงพัฒนาองค์กรกีฬาให้มีความเป็นมาตรฐานมากขึ้น รวมถึงสร้างความสุขให้กับประชาชน
อยากให้ทุกคนได้ดีใจกับกีฬาเป็นเลิศ
รองปลัดกระทรวงท่องเที่ยวเเละกีฬา กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า
ประชาชนที่สนใจหรืออยากมีส่วนร่วมในการรับฟัง
เราก็มีโครงการนำร่างเเผนที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นเเล้ว
ให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาให้ข้อเสนอเเนะกับเเผนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ ฉบับที่ 7 ซึ่งก็จะถือเป็นฉบับเเรก
ที่มีการดำเนินการภายใต้นโยบาย พ.ร.บ.การกีฬาเเห่งชาติ ที่เพิ่งประกาศใช้ไปเมื่อปี
พ.ศ.2561
สำหรับ (ร่าง) ตัวชี้วัดของเเผนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ ฉบับที่ 7
(พ.ศ.2565-2570)
6 ประการสำคัญตามยุทธศาสตร์ที่มีการร่างเอาไว้ 6 ข้อหลักๆ
ประกอบด้วย
1. ประชนชนทุกภาคส่วนออกกำลังกายเเละเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอ
(ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง)
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 45 ภายในปี 2570 ซึ่งจากข้อมูลปี 2562-2563
คนไทยออกกำลังกายเฉลี่ยร้อยละ 40
2. อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (อายุเฉลี่ย)
ไม่น้อยกว่า 68 ปี ในปี 2565 เเละไม่น้อยวกว่า 70 ปี ภายในปี 2570
3. อันดับการเเข่งขันในมหกรรมกีฬาระดับนานาชาติของนักกีฬาไทย
ต้องอยู่ในอันดับ 7 ของเอเชีย ในปี 2565 เเละอันดับ 6 ในระดับเอเชีย
ในปี 2566-2570
4. มีบุคลากรด้านการกีฬา นันทนาการ
เเละวิทยาศาสตร์การกีฬาทั่วประเทศที่ได้มาตรฐาน เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 5 ต่อปี
5. มูลค่าอุตสาหกรรมกีฬา มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี
6. มีหน่วยงานรับผิดชอบ
เรื่องการขับเคลื่อนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการกีฬาตามกฎหมายอย่างชัดเจน