ยุทธศาสตร์ที่ 2 (4 กลยุทธ์)

โดย : Admin

ยุทธศาสตร์ที่ 2

ปรับรูปแบบการทำงานให้มีลักษณะเชิงบูรณาการ
เกิดการแสวงหาความร่วมมือและสร้างเครือข่าย
กับฝ่ายต่าง ๆ
รวมทั้งเปิดให้ประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วม

กลยุทธ์ที่ 1 :วางระบบการบริหารงานแบบบูรณาการภายในระบบราชการ โดย
        • จัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขต อำนาจหน้าที่
           และความรับผิดชอบที่ชัดเจน 
        • ออกแบบระบบบริหารราชการสำหรับพื้นที่เฉพาะ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ทั้งปัญหา
           ด้านเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคง 
        • เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่จังหวัด/กลุ่มจังหวัดในการบริหารงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการโดยสนับสนุน
          ให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดมีแผนและงบประมาณ เพื่อพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดเป็นการเฉพาะ และอย่างเพียงพอ
          เพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่

กลยุทธ์ที่ 2 : ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานกลางต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการของส่วนราชการต่าง ๆ โดย 
        • ประสานแนวทางการพัฒนาระบบราชการไทยให้มีเอกภาพและอยู่ภายใต้กรอบนโยบายและแบบแผนเดียวกัน
           รวมทั้งบูรณาการการทำงานของหน่วยงานกลางเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่กำหนดไว้ร่วมกัน
กลยุทธ์ที่ 3 : จัดระบบบริหารราชการให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายกับภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน และภาคส่วนต่าง ๆ ในลักษณะเป็นภาคี/พันธมิตร/หุ้นส่วนในการจัดบริการสาธารณะ โดย 
        • ส่งเสริม ผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการทำงาน การประสานกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์กร
           ประชาชนในลักษณะการบริหารงานในรูปแบบเครือข่าย (Networking) เน้นการทำงานแบบหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ และ
           ภาคเอกชนในงานบริการสาธารณะ (Public-Private Partnership - PPP) โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมทุนใน
           โครงการพัฒนาสำคัญ ๆ ของประเทศ
กลยุทธ์ที่ 4สนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการ โดย
        • สร้างความรู้และความเข้าใจแก่เครือข่ายภาคประชาสังคม และภาคประชาชนในการพัฒนาระบบราชการ เน้นการเรียนรู้
           โดยการปฏิบัติจริง
(ActionLearning) 
        • พัฒนารูปแบบ กลไก ระบบ และวิธีทำงาน เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 
        • ส่งเสริมให้มีคณะกรรมการภาคประชาชน (Lay Board) ในทุกระดับ และจัดให้มีอาสาสมัครภาคประชาชน เข้ามามีส่วน
           ร่วมในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการริเริ่มให้มีการวางแผนและจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม
           
(Participatory Planning and Budgeting)